เมนู

ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตแห่งข้าวสาลีอัน
มีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถเพราะวิบาก
แต่งกรรม คือ มุสาวาทของดิฉัน ก็กรรมทั้งหลาย
ไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบสูญ เพราะฉะนั้น
ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตร อันมีกลิ่นเหม็น
มีหนอน.

จบภุสเปตวัตถุที่ 4

อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ 4



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถุ ทรงปรารภ
เปรต 4 ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสานิ
เอโก สาลี ปุนาปโร
ดังนี้.
ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี
มีพ่อค้าโกงคนหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรมมีการโกงด้วยตราชั่ง
เป็นต้น. เขาถือเอาฟ่อนข้าวสาลี เคล้าด้วยดินแดง ทำให้หนักกว่า
เดิม ปนกับข้าวสาลีแดงแล้วขาย. บุตรของเขาโกรธว่า คุณพ่อ
ไม่ยอมให้เกียรติยกย่องมิตรสหายของเรา ผู้มาสู่เรือนเสียเลย
ได้ถือเอาเชือกหนัก 2 เส้น ตีศีรษะมารดา. หญิงสะใภ้ของเขา
ลักกินเนื้อที่เก็บไว้สำหรับชนทั้งปวงแล้ว เมื่อถูกชนเหล่านั้น
ซักไซร้จึงให้คำสบถว่า ถ้าเรากินเนื้อนั้นจริง ก็ขอให้เราพึง
เฉือนเนื้อสันหลังของตนแล้วกินทุก ๆ ภพไปเถิด. ฝ่ายภริยาของเขา

เมื่อชนทั้งหลายพากันขออุปกรณ์บางอย่าง ก็ตอบว่า ไม่มี เมื่อ
ถูกชนเหล่านั้นรบเร้า จงได้ทำสบถด้วยมุสาวาทว่า ถ้าเรากล่าว
ถึงสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มีไซร้ ขอให้เราพึงเป็นผู้มีคูถเป็นอาหาร ในที่
ที่เกิดแล้วเถิด.
สมัยต่อมาชนทั้ง 4 คนนั้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ในดงไฟไหม้ ในคน 4 คนนั้น พ่อค้าโกง ใช้มือทั้งสองข้าง กอบเอา
แกลบที่ลุกโพลงด้วยผลกรรมแล้ว เกรี่ยลงบนศีรษะของตนเอง
เสวยทุกข์เป็นอันมาก, บุตรของเขาก็ใช้ค้อนเหล็กตีศีรษะตนเอง
เสวยทุกข์ไม่ใช่น้อยเลย หญิงสะใภ้ของเขา ด้วยผลกรรม จึงใช้
เล็บทั้งหลายที่ทั้งกว้างและยาวยิ่งนัก คมเป็นอย่างดี กรีดเนื้อ
แผ่นหลังของตนเองกิน เสวยทุกข์หาประมาณมิได้. พอภริยา
ของเขา น้อมนำข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์ดี ปราศจากด่างดำ
เข้าไปเท่านั้น ก็กลายสำเร็จเป็นคูถ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่หนอน
นานาชนิด มีกลิ่นเหม็นและน่าเกลียดยิ่งนัก, ภริยานั้นอามือทั้งสอง
ข้างกอบคูถนั้นกิน เสวยทุกข์อย่างมหันต์.
เมื่อชนทั้ง 4 คนเหล่านั้น เกิดในหมู่เปรตเสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ. เมื่อจาริก
ไปบนภูเขา วันหนึ่งไปถึงที่นั้น เห็นเปรตเหล่านั้น จึงถามถึงกรรม
ที่เปรตเหล่านั้น กระทำด้วยคาถานี้ว่า :-
ท่านทั้ง 4 คนนี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบ
ข้าวสารีที่ไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะตนเอง

อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก ส่วน
คนที่เป็นหญิง เอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือด
ของตนเอง ส่วนท่านกินคูถอันเป็นของไม่สะอาด
ไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสานิ ได้แก่ ข้าวรีบ. บทว่า
เอโก แปลว่า ผู้หนึ่ง. บทว่า สาลึ แปลว่า ข้าวสาลี. จริงอยู่
บทว่า สาลึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
อธิบายว่า โปรยแกลบแห่งข้าวสาลี ที่ไฟลุกโชนลงบนศีรษะของตน.
บทว่า ปุนาปโร ตัดเป็น ปุน อปโร แปลว่า อีกคนหนึ่ง. จริงอยู่
ท่านกล่าวหมายถึงผู้ตัดศีรษะมารดาแล้วเอาฆ้อนเหล็กตีศีรษะ
ตนเองจนถึงศีรษะแตก. บทว่า สกมํสสโลหิตํ มีวาจาประกอบ
ความว่า ย่อมกินเนื้อหลัง และเลือดของตนเอง. บทว่า อกนฺตํ
แปลว่า ไม่น่าชอบใจ คือ น่าเกลียด. บทว่า กิสฺส อยํ วิปาโก
ความว่า นี้เป็นผลแห่งบาปกรรมชนิดไหน ซึ่งพวกท่านเสวย ณ
บัดนี้.
เมื่อพระเถระถามถึงกรรมที่ชนเหล่านั้น กระทำอย่างนี้
ภริยาของพ่อค้าโกง เมื่อจะแจ้งถึงกรรมที่ชนทั้งหมดนั้นกระทำไว้
จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
เมื่อก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีดิฉัน
เป็นมารดา ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกง
ข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูกสะใภ้ของดิฉัน

ลักกินเนื้อแล้ว กลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท
ดิฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก เป็นหญิง
แม่เรือน เป็นใหญ่แก่สกุลทั้งปวง เมื่อสิ่งของมี
อยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้
อะไร ๆ จากของที่มีอยู่เลยปกปิดไว้ด้วยมุสาวาท
ว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา ถ้าเราปกปิดของ
ที่มีไว้ไซร้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตรแห่ง
ข้าวสาลีอันมีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถ
เพราะวิบากแห่งกรรม คือมุสาวาทของดิฉัน ก็
กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบ-
สูญ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถ
อันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.

นางเปรตเมื่อจะแสดงถึงบุตรจึงได้กล่าวว่า อยํ ในคาถานั้น.
บทว่า หึสติ แปลว่า ใช้กำลังเบียดเบียน อธิบายว่า ใช้ไม้ฆ้อนตี.
บทว่า กูฏวาณิโช แปลว่า พ่อค้าเลวทราม อธิบายว่า ทำการค้าด้วย
การหลอกลวง. บทว่า มํสานิ ขาทิตฺวา ความว่า กินเนื้อที่ทั่วไป
ก็คนเหล่าอื่นแล้ว หลอกลวงชนเหล่านั้น ด้วยมุสาวาทว่า เรา
ไม่ได้กิน.
บทว่า อคารินี ได้แก่ หญิงแม่เจ้าเรือน. บทว่า สนฺเตสุ
ความว่า เมื่อเครื่องอุปกรณ์ที่ชนเหล่าอื่นขอยังมีอยู่นั่นแล. บทว่า
ปริคุหามิ แปลว่า ปกปิด. จริงอยู่ คำว่า ปริคุหามิ นี้ ท่านกล่าว

ด้วยกาลวิปลาส. บทว่า มา จ กิญฺจิ อิโต อทํ ความว่า เราไม่ได้
ให้แม้เพียงสิ่งอะไร ๆ จากสิ่งอันเป็นของของเรานี้ แก่ชนเหล่าอื่น
ผู้ต้องการ. บทว่า ฉาเทมิ ความว่า ปกปิดด้วยมุสาวาทว่า สิ่งนี้
ไม่มีอยู่ในเรือนของเรา.
บทว่า คูถํ เม ปริวตฺตติ ความว่า ข้าวสาลีมีกลิ่นหอม
ย่อมเปลี่ยนไป คือ แปรไปโดยความเป็นคูถ ด้วยอำนาจกรรม
ของเรา. บทว่า อวญฺฌานิ แปลว่า ไม่สูญเปล่า คือ ไม่ไร้ผล.
บทว่า น หิ กมฺมํ วินสฺสติ ความว่า กรรมตามที่ตนได้สั่งสมไว้
ยังไม่ให้ผล จะไม่สูญไปไหนเลย. บทว่า กิมินํ ได้แก่ มีหนอน
คือ เกิดเป็นหมู่หนอนขึ้น. บทว่า มีฬฺหํ แปลว่า คูถ. คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
พระเถระ ครั้นสดับคำของนางเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้
กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงการทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภุสเปตวัตถุที่ 4

5. กุมารเปตวัตถุ



ว่าด้วยเด็กพูดวาจาหยาบเป็นบาปได้



เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าว
คาถา 7 คาถาความว่า
[115] พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลได้อย่าง
ถูกต้องว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญ
น้อย คฤหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือตลอดราตรี
ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็กงูใหญ่ ก็ไม่เบียด-
เบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัข
ทั้งหลายก็พากันมาเลียเท้าทั้งสองของเด็กนี้
ฝูงเหยี่ยวและสุนัขจิ้งจอก ก็พากันมาเดิน
เวียนรักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทิน
ครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมานำเอานี้ตา
เด็กนี้ หรือใคร ๆ ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาด
ให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบ